อสังหาฯQ1 'รายได้-กำไร' ลดลง เหตุเร่งโอนปลายปี67-ไม่มั่นใจศก.
วันที่ : 20 พฤษภาคม 2568
อสังหาฯ ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจน เผยรายได้และกำไร ไตรมาสแรก 2568 ของ 38 บริษัทอสังหาฯ ลดลง 21.04% และ 47.63% ตามลำดับ เหตุผู้ประกอบการไปเร่งโอนปลายปี 67 เพื่อให้ทันก่อนหมดมาตรการลดค่าโอนฯ ขณะที่ เอพี ไทยแลนด์ มี รายได้และกำไรสูงสุด
บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด ได้รวบรวมผลการดำเนินงานของ 38 บริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ รายงานผลการดำเนินงานไตรมาสแรก ปี 2568 ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 พบว่า รายได้รวม มีมูลค่ารวม 56,134.39 ล้านบาท และกำไรสุทธิที่ 2,860.15 ล้านบาท ลดลง 21.04% และ 47.63% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับรายได้รวมและกำไรสุทธิ ในไตรมาสแรก ปี 2567 ที่มีมูลค่ารวม 71,094.20 ล้านบาท และกำไรสุทธิรวม 5,462.47 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม รายได้รวมของ 10 บริษัทที่มีรายได้สูงสุด อยู่ที่ 39,731.58 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 70.77% ของรายได้รวมทั้ง 38 บริษัท ขณะที่กำไรสุทธิของบริษัท 10 อันดับแรกที่มีกำไรสูงสุดมีมูลค่ารวม 3,584.59 ล้านบาท สูงกว่ากำไรสุทธิรวมของ 38 บริษัท เนื่องจากมีบริษัทที่ขาดทุนสุทธิทั้งสิ้น 19 บริษัทจาก 38 บริษัท
จากการชี้แจงของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่รายได้และ กำไรลดลง เป็นผลมาจากมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจำนวนมากในไตรมาสสุดท้ายของปี 2567 ก่อนที่มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองจะหมด ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2567 ทำให้ยอดขายและรายได้ในไตรมาสแรกของปี 2568 ชะลอตัว เนื่องจากผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ชะลอการซื้อ เพื่อรอการต่ออายุมาตรการการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง จากภาครัฐ ขณะที่ความไม่แน่นอนและความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่กระทบกับเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ชะลอการตัดสินใจซื้อในช่วงไตรมาสแรกของปี 2568
จากรายได้และกำไรที่ลดลง ทำให้ความสามารถในการทำกำไรเฉลี่ยของ 38 บริษัท ลดลงมาอยู่ที่ 5.09% ในไตรมาสแรกของปี 2568 ลดลงจาก 7.68% ในไตรมาสแรกของปี 2567
ขณะที่ สินค้าคงเหลือ บวกกับสินค้าที่อยู่ระหว่างการพัฒนาของ บริษัทอสังหาฯ ทั้ง 38 บริษัท ไตรมาสแรกปี 2568 อยู่ที่ 718,904.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก สินค้าคงเหลือและที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ณ สิ้นปี 2567 ที่อยู่ที่ 716,560.50 ล้านบาท โดย แสนสิริ มีสินค้าคงเหลือและที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างสูงสุดที่ 99,960.96 ล้านบาท
โดย บริษัท เอพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีรายได้และกำไรสูงสุดที่ 7,758.80 ลบ. และ 863.72 ลบ. ตามลำดับ
ในขณะที่ตลาดอสังหาฯ ในช่วง 9 เดือนหลังปี 2568 มีแนวโน้มฟื้นตัวจากมาตรการผ่อนคลาย LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย และ การขยายเวลาลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองลงมาอยู่ที่ 0.01% ที่มีผลถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569
อย่างไรก็ตาม รายได้รวมของ 10 บริษัทที่มีรายได้สูงสุด อยู่ที่ 39,731.58 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 70.77% ของรายได้รวมทั้ง 38 บริษัท ขณะที่กำไรสุทธิของบริษัท 10 อันดับแรกที่มีกำไรสูงสุดมีมูลค่ารวม 3,584.59 ล้านบาท สูงกว่ากำไรสุทธิรวมของ 38 บริษัท เนื่องจากมีบริษัทที่ขาดทุนสุทธิทั้งสิ้น 19 บริษัทจาก 38 บริษัท
จากการชี้แจงของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่รายได้และ กำไรลดลง เป็นผลมาจากมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจำนวนมากในไตรมาสสุดท้ายของปี 2567 ก่อนที่มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองจะหมด ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2567 ทำให้ยอดขายและรายได้ในไตรมาสแรกของปี 2568 ชะลอตัว เนื่องจากผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ชะลอการซื้อ เพื่อรอการต่ออายุมาตรการการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง จากภาครัฐ ขณะที่ความไม่แน่นอนและความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่กระทบกับเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ชะลอการตัดสินใจซื้อในช่วงไตรมาสแรกของปี 2568
จากรายได้และกำไรที่ลดลง ทำให้ความสามารถในการทำกำไรเฉลี่ยของ 38 บริษัท ลดลงมาอยู่ที่ 5.09% ในไตรมาสแรกของปี 2568 ลดลงจาก 7.68% ในไตรมาสแรกของปี 2567
ขณะที่ สินค้าคงเหลือ บวกกับสินค้าที่อยู่ระหว่างการพัฒนาของ บริษัทอสังหาฯ ทั้ง 38 บริษัท ไตรมาสแรกปี 2568 อยู่ที่ 718,904.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก สินค้าคงเหลือและที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ณ สิ้นปี 2567 ที่อยู่ที่ 716,560.50 ล้านบาท โดย แสนสิริ มีสินค้าคงเหลือและที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างสูงสุดที่ 99,960.96 ล้านบาท
โดย บริษัท เอพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีรายได้และกำไรสูงสุดที่ 7,758.80 ลบ. และ 863.72 ลบ. ตามลำดับ
ในขณะที่ตลาดอสังหาฯ ในช่วง 9 เดือนหลังปี 2568 มีแนวโน้มฟื้นตัวจากมาตรการผ่อนคลาย LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย และ การขยายเวลาลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองลงมาอยู่ที่ 0.01% ที่มีผลถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ