ดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 4 ปี 2566
วันที่ : 25 มกราคม 2567
ค่าดัชนีเท่ากับ 134.5 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2566 (QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งแสดงว่า ราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ยังอยู่ในทิศทางที่ปรับตัวขึ้น แต่เป็นการปรับตัวขึ้นไม่มาก
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) รายงานดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 4 ปี 2566 มีค่าดัชนีเท่ากับ 134.5 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2566 (QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งแสดงว่า ราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ยังอยู่ในทิศทางที่ปรับตัวขึ้น แต่เป็นการปรับตัวขึ้นไม่มาก
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นนั้นมาจากค่าตอบแทนในหมวดงานออกแบบก่อสร้างและงานระบบ ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในหมวดงานสถาปัตยกรรมร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่หมวดงานวิศวกรรมโครงสร้าง ลดลงร้อยละ -2.8 และ หมวดงานระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY)
หมวดราคาวัสดุก่อสร้างที่ลดลงมี 4 รายการ ได้แก่ สุขภัณฑ์ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และผลิตภัณฑ์คอนกรีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาสุขภัณฑ์ที่ลดลงมากที่สุดถึงประมาณร้อยละ -10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยเป็นผลมาจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง เพื่อระบายสต๊อกสินค้าในช่วงปลายปี และรองลงมาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ลดลงร้อยละ -9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากประเทศจีนส่งออกสินค้าเหล็กจำนวนมากไปยังภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย เนื่องจากประเทศจีนเกิดปัญหาการชะลอตัวด้านอสังหาริมทรัพย์และการเติบโตของเศรษฐกิจ ที่ไม่ได้สูงเหมือนที่คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ต้น แต่โรงงานเหล็กในประเทศจีนยังมีการผลิตสูงขึ้นต่ออย่างเนื่อง จึงเริ่มมีการระบายสินค้าจากจีนมายังตลาดโลกเป็นปริมาณสูงมากต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2565 และเข้ามาสร้างโกดังกระจายสินค้าโดยตรงในพื้นที่ EEC ของประเทศไทย ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาอย่างดุเดือดส่งผลให้ราคาเหล็กโดยรวมในประเทศไทยปรับตัวลดลง...
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นนั้นมาจากค่าตอบแทนในหมวดงานออกแบบก่อสร้างและงานระบบ ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในหมวดงานสถาปัตยกรรมร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่หมวดงานวิศวกรรมโครงสร้าง ลดลงร้อยละ -2.8 และ หมวดงานระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY)
หมวดราคาวัสดุก่อสร้างที่ลดลงมี 4 รายการ ได้แก่ สุขภัณฑ์ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และผลิตภัณฑ์คอนกรีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาสุขภัณฑ์ที่ลดลงมากที่สุดถึงประมาณร้อยละ -10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยเป็นผลมาจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง เพื่อระบายสต๊อกสินค้าในช่วงปลายปี และรองลงมาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ลดลงร้อยละ -9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากประเทศจีนส่งออกสินค้าเหล็กจำนวนมากไปยังภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย เนื่องจากประเทศจีนเกิดปัญหาการชะลอตัวด้านอสังหาริมทรัพย์และการเติบโตของเศรษฐกิจ ที่ไม่ได้สูงเหมือนที่คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ต้น แต่โรงงานเหล็กในประเทศจีนยังมีการผลิตสูงขึ้นต่ออย่างเนื่อง จึงเริ่มมีการระบายสินค้าจากจีนมายังตลาดโลกเป็นปริมาณสูงมากต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2565 และเข้ามาสร้างโกดังกระจายสินค้าโดยตรงในพื้นที่ EEC ของประเทศไทย ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาอย่างดุเดือดส่งผลให้ราคาเหล็กโดยรวมในประเทศไทยปรับตัวลดลง...
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่