อสังหาฯครึ่งปีแรกหด9% กำลังซื้ออ่อนแอ-ศก.ชะลอ
วันที่ : 20 สิงหาคม 2567
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า สำหรับคาดการณ์ในครึ่งปีหลังภาพรวมอสังหาฯ น่าจะเห็นสัญญาณดีขึ้น ดูได้จากไตรมาส 2 เริ่มติดลบน้อยลง หลังพบสัญญาณการปรับตัวในทิศทางที่ดี จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาฯ และสถาบันการเงินเริ่มปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในครึ่งปีแรก 67 ชะลอตัวแรงมากกว่าช่วงสถานการณ์โควิด ปี 63-64 เนื่องจากเผชิญภาวะกำลังซื้ออ่อนแอ เศรษฐกิจชะลอตัว ปัญหาหนี้สิน และสถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยกู้ โดยยอดการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมีเพียง 159,952 หน่วย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9% และมีมูลค่า 452,136 ล้านบาท ลดลง 9.4% ขณะที่จำนวนสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่เหลือเพียง 265,644 ล้านบาท ลดลง 15.2%
"ขณะที่ภาพรวมยอดขายที่อยู่อาศัยใหม่ใน 27 จังหวัดช่วงครึ่งปีมีการชะลอตัวด้วย สะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยยังคงอ่อนแรง จากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและหนี้ครัวเรือน และเมื่อเกิดภาวการณ์ปฏิเสธสินเชื่อ ก็ทำให้ผู้ซื้อบ้านเกิดความไม่มั่นใจในการซื้อและกู้ ทำให้บางส่วนเปลี่ยนใจชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไป ส่วนกลุ่มที่ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุนก็ชะลอด้วย เพราะไม่ต้องการนำเงินส่วนตัวมาลง 20% ของราคาที่อยู่อาศัยตามเกณฑ์แอลทีวี และไม่อยากสร้างหนี้ระยะยาวในช่วงนี้ จึงนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่มีผลตอบแทนดีกว่า"
ทั้งนี้ เมื่อแยกเป็นการโอนกรรมสิทธิ์บ้านใหม่ลดลง 12.4% และบ้านมือสองลดลง 6.9% แต่บ้านใหม่ระดับราคา 1.01-1.50 ล้านบาท ยังเพิ่มขึ้น 0.5% รวมถึงบ้าน 5.01-7.50 ล้านบาท ก็ยังดีอยู่โดยเพิ่มขึ้น 3.6% และที่น่าสังเกตคือบ้านจัดสรรยอดลดลงแรง 14.2% สวนทางอาคารชุดที่เพิ่มขึ้น 4.4% โดยเฉพาะอาคารชุดมือสองเพิ่มถึง 11.8% ขณะที่อาคารชุดใหม่ตกลง 1.5% โดยเป็นการลดลงของคอนโดหรูระดับเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไปมากสุดถึง 33.5%
นายวิชัย กล่าวว่า สำหรับคาดการณ์ในครึ่งปีหลังภาพรวมอสังหาฯ น่าจะเห็นสัญญาณดีขึ้น ดูได้จากไตรมาส 2 เริ่มติดลบน้อยลง หลังพบสัญญาณการปรับตัวในทิศทางที่ดี จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาฯ และสถาบันการเงินเริ่มปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยทั้งปี 67 มองว่าจะมีการโอนซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ 350,545 หน่วย ลดลง 4.4% คิดเป็นมูลค่า 1.01 ล้านล้านบาท ลดลง 3.3% แยกเป็นบ้านจัดสรร 243,088 หน่วย ลดลง 6.0% คอนโดมิเนียม 107,456 หน่วย ลดลง 0.6% ขณะที่คาดการณ์มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ทั่วประเทศตลอดทั้งปีอยู่ที่ 651,317 ล้านบาท ลดลง 4% ขณะที่สถิติการออกใบอนุญาตบ้านจัดสรรทั่วประเทศมี 89,420 หน่วย ลดลง 6.4% เช่นเดียวกับจำนวนพื้นที่การออกใบอนุญาตก่อสร้างทั่วประเทศ 36.1 ล้านตารางเมตร ลดลง 8.9%
"ขณะที่ภาพรวมยอดขายที่อยู่อาศัยใหม่ใน 27 จังหวัดช่วงครึ่งปีมีการชะลอตัวด้วย สะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยยังคงอ่อนแรง จากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและหนี้ครัวเรือน และเมื่อเกิดภาวการณ์ปฏิเสธสินเชื่อ ก็ทำให้ผู้ซื้อบ้านเกิดความไม่มั่นใจในการซื้อและกู้ ทำให้บางส่วนเปลี่ยนใจชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไป ส่วนกลุ่มที่ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุนก็ชะลอด้วย เพราะไม่ต้องการนำเงินส่วนตัวมาลง 20% ของราคาที่อยู่อาศัยตามเกณฑ์แอลทีวี และไม่อยากสร้างหนี้ระยะยาวในช่วงนี้ จึงนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่มีผลตอบแทนดีกว่า"
ทั้งนี้ เมื่อแยกเป็นการโอนกรรมสิทธิ์บ้านใหม่ลดลง 12.4% และบ้านมือสองลดลง 6.9% แต่บ้านใหม่ระดับราคา 1.01-1.50 ล้านบาท ยังเพิ่มขึ้น 0.5% รวมถึงบ้าน 5.01-7.50 ล้านบาท ก็ยังดีอยู่โดยเพิ่มขึ้น 3.6% และที่น่าสังเกตคือบ้านจัดสรรยอดลดลงแรง 14.2% สวนทางอาคารชุดที่เพิ่มขึ้น 4.4% โดยเฉพาะอาคารชุดมือสองเพิ่มถึง 11.8% ขณะที่อาคารชุดใหม่ตกลง 1.5% โดยเป็นการลดลงของคอนโดหรูระดับเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไปมากสุดถึง 33.5%
นายวิชัย กล่าวว่า สำหรับคาดการณ์ในครึ่งปีหลังภาพรวมอสังหาฯ น่าจะเห็นสัญญาณดีขึ้น ดูได้จากไตรมาส 2 เริ่มติดลบน้อยลง หลังพบสัญญาณการปรับตัวในทิศทางที่ดี จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาฯ และสถาบันการเงินเริ่มปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยทั้งปี 67 มองว่าจะมีการโอนซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ 350,545 หน่วย ลดลง 4.4% คิดเป็นมูลค่า 1.01 ล้านล้านบาท ลดลง 3.3% แยกเป็นบ้านจัดสรร 243,088 หน่วย ลดลง 6.0% คอนโดมิเนียม 107,456 หน่วย ลดลง 0.6% ขณะที่คาดการณ์มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ทั่วประเทศตลอดทั้งปีอยู่ที่ 651,317 ล้านบาท ลดลง 4% ขณะที่สถิติการออกใบอนุญาตบ้านจัดสรรทั่วประเทศมี 89,420 หน่วย ลดลง 6.4% เช่นเดียวกับจำนวนพื้นที่การออกใบอนุญาตก่อสร้างทั่วประเทศ 36.1 ล้านตารางเมตร ลดลง 8.9%
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ